วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ชาวบ้านนับร้อยคนรวมตัวประท้วงการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโอภาสี

 ชาวบ้านนับร้อยคนรวมตัวประท้วงการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโอภาสี



วันที่ 17 ธันวาคม 2567 10.00 น. ที่วัดหลวงพ่อโอภาสี ถนน พุทธบูชา แขวง บางมด เขต ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร สืบเนื่องจากพระครูสุทธิญาโณภาส (อุสา มะลิพันธุ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโอภาสี ได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 โดยมีการแต่งตั้งพระครูโอภาสวัชรานุกูล (สุชาติ) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโอภาสี แต่เนื่องจากรักษาการเจ้าอาวาสมีพฤติกรรมบางประการที่ไม่สอดคล้องตามพระธรรมวินัย จนเกิดวิกฤติศรัทธา และคำครหาจากชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมาก

ต่อมาในวันนี้ ทางวัดจะมีการจัดพิธี แต่งตั้งพระครูโอภาสวัชรานุกูล เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงรวมตัวกันประท้วง คัดค้านไม่ให้แต่งตั้งเจ้าอาวาส เนื่องจาก ไม่มีการสอบถาม หรือแจ้งข่าว ติดประกาศ หรือรับฟังความเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่แต่อย่างใด เพิ่งมีการขึ้นป้ายไวนิลเล็กๆ ข้างพระอุโบสถเมื่อวานนี้ช่วงเย็นก่อนวันแต่งตั้งในเช้าวันรุ่งขึ้น จึงเป็นเหตุให้แกนนำชาวบ้านเฉพาะที่ทราบข่าวในช่วงดึกตัดสินใจออกมาคัดค้านเบื้องต้น และจะนัดรวมตัวใหญ่เพื่อรวมพลังกันอีกครั้ง 




อย่างไรก็ตามชาวบ้านเคยได้รวบรวมรายชื่อ 1,000 ชื่อ ยื่นต่อเจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอพระยุทธนา ซึ่งเป็นพระลูกวัดดังกล่าวเป็นเจ้าอาวาสเนื่องจากเป็นญาติสายตรงของหลวงพ่อโอภาสี และแจ้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้รักษาการเจ้าอาวาส แต่ยังไม่ได้รับคำชี้แจงที่ชัดเจนลงมา ก็ได้มีการรวบรัดเตรียมงานแต่งตั้งพระครูโอภาสวัชรานุกูล (สุชาติ) เป็นเจ้าอาวาส




ต่อมา ทางคณะกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้เลื่อนการแต่งตั้ง พระครูโอภาสวัชรานุกูล (สุชาติ) เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโอภาสี ออกไปก่อนจนกว่าจะพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่ชาวบ้านร้องเรียนมาได้ ทั้งนี้เพื่อความสง่างาม และ การเหมาะสมให้เป็นที่ยอมรับของชาวบ้านต่อไป




สำหรับข้อมูลของพระยุทธนา ยติโก (ยุทธนา มะลิพันธุ์) คือบุคคลที่ชาวบ้านสนับสนุนเป็นหลานแท้ๆของหลวงพ่อโอภาสี ท่านเป็นพระนักพัฒนา เป็นผู้นำกิจกรรมสร้างความดีแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง เป็นเลือดเนื้อเชื้อไข แท้ๆ ของหลวงพ่อโอภาสี โดยมีศักดิ์เป็น ปู่ – หลานกัน  จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพ รวมถึงได้รับมอบจากพระครูสุทธิญาโณภาสในการปฏิบัติหน้าที่แทนในระหว่างที่ท่านอาพาธในประเพณีสำคัญที่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาทุกปี เช่น พิธีสรงน้ำหลวงพ่อโอภาสีวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ประเพณีทอดกฐินในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี 




เนื่องจากวัดหลวงพ่อโอภาสีเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมา โดยเฉพาะ หลวงพ่อโอภาสี (ชวน มะลิพันธุ์) ได้ธุดงค์ออกจากวัดบวรนิเวศวิหารฯ มาบำเพ็ญธรรมตามแนวเตโชกสิณในพื้นที่ดังกล่าว และชาวบ้านในบริเวรนั้นได้มอบพื้นที่ให้ตั้งอาสม และเปลี่ยนเป็นวัดในเวลาต่อมา




ซึ่งหลวงพ่อโอภาสี เป็นอริยสงฆ์ที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชน เมื่อหลวงพ่อละสังขารลงจึงตั้งสังขารหลวงพ่อโอภาสีไว้ในจุฬามณีปราสาทเพื่อเป็นที่สักการะยึดเหนี่ยวจิตใจของลูกศิษย์ ซึ่งที่ผ่านมาภิกษุผู้ดูแลสถานที่และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นสายเลือด เช่น เป็นน้องชาย หลานชายแห่งหลวงพ่อโอภาสีทั้งสิ้น 




ปัจจุบัน วัดหลวงพ่อโอภาสีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 นับเป็นวัดเดียวในประเทศไทย ที่ใช้ชื่อ “หลวงพ่อ”นำหน้าและตั้งเป็นชื่อวัดอย่างเป็นทางการ โดยที่พระครูสุทธิญาโณภาส (อุสา มะลิพันธุ์) เจ้าอาวาสรูปล่าสุดที่มรณภาพลง ได้เคยบอกกล่าวไว้ในหลายโอกาสว่า “หลวงพ่อโอภาสีบอกว่าผู้อยู่วัดนี้ได้ ต้องเป็นทายาทท่านหรือสายโลหิต กล่าวคือเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโอภาสี ต้องเป็นทายาทหรือสายโลหิตของท่าน” 




รายนามอดีตเจ้าสำนักพุทธญาณโอภาสี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “อาศรมบางมด” ซึ่งปัจจุบันคือ “วัดหลวงพ่อโอภาสี”  




1.หลวงพ่อโอภาสี (มะลิพันธุ์) เจ้าสำนักพุทธญาณโอภาสี หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “อาศรมบางมด” (ปัจจุบันคือวัดหลวงพ่อโอภาสี) ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 – 2498     

                                          

2.หลวงปู่ชม ปภากโร (มะลิพันธุ์) เจ้าสำนักพุทธญาณโอภาสี หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “อาศรมบางมด” (ปัจจุบันคือวัดหลวงพ่อโอภาสี) ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 – 2526



3.หลวงปู่กิมเส็ง จิตธัมโม (มะลิพันธุ์) เจ้าสำนักพุทธญาณโอภาสี หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “อาศรมบางมด” (ปัจจุบันคือวัดหลวงพ่อโอภาสี)  ตั้งแต่ 2500 -  2535 โดยดำรงเจ้าสำนักพุทธญาณโอภาสี ตั้งแต่ 2527 เป็นต้นไป ภายหลังจากหลวงปู่กิมเส็งมรณภาพ


4.พระครูสุทธิญาณโณภาส (อุสา มะลิพันธุ์) อดีตเจ้าอาวาสหลวงพ่อโอภาสีตั้งแต่ พ.ศ. 2536 จนมรณภาพลง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น