วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562
‘อดีตตร.ชะอำ’ ร้องให้เจ้าหน้าที่รังวัดไปวัดที่. พร้อมสื่อมวนชนลงพื้นที่ มีเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี สาขาชะอำ รองผอ.กองช่างเทศบาลตำบลบางเก่า อ.ชะอำ และคณะเดินทางมาที่ บ้านเกตุ หมู่ 7 ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เข้าตรวจสอบสภาพพื้นที่ดินหลังได้รับการร้องเรียนจาก จ.ส.ต.ปพน มีจิตต์ อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9/4 ถ.ราชพลี 1 ต.ชะอำ อ.ชะอำ ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ดินซึ่งได้รับกรรมสิทธิ์จากบรรพบุรุษและมีเอกสารสิทธิ์ สค.1 ถูกต้อง แต่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็น น.ส.3 หรือโฉนดที่ดิน เนื่องจากการดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จนปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวถูกครอบครองโดยผู้อื่นออกเป็นโฉนดที่ดินจำนวนมาก
จ.ส.ต.ปพน เปิดเผยว่า ที่ดินดังกล่าวเมื่อ พ.ศ. 2470 นายชม มีจิตต์ ซึ่งเป็นคุณตาทวดของตนได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษที่ทำกินมานานต่อเนื่องกว่า 60 ปี รวมจำนวน 120 ไร่ ตั้งอยู่ที่บริเวณ หมู่ 7 ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และมีการเสียภาษีบำรุงท้องที่อย่างต่อเนื่อง และมีใบแจ้งครอบครองที่ดิน สค. 1 เลขที่ 92 เนื่องจากเป็นบุคคลทำกินอยู่ก่อน พ.ร.บ.กฏหมายที่ดินเป็นหลักฐาน ต่อมาปี 2516,2517,2518 และ 2520 นายชม ไปขอรังวัดออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว แต่ปรากฏว่านายอำเภออำเภอชะอำ ในขณะนั้นได้คัดค้านและไม่อนุญาตให้จับจอง อ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นทางและพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้เป็นทางเดินและเลี้ยงสัตว์ไม่สามารถจับจองได้ นายชมจึงร้องเรียนขอความเป็นธรรมในสมัย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และมีคำสั่งให้มีการออก นส.3 ให้ผู้ร้อง แต่ปรากฏไม่มีการดำเนินการออก นส.3 ให้ผู้ร้อง ตามคำสั่งนายกแต่อย่างใด
ต่อมาปี 2525 นายชม ทำเรื่องฟ้องกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอชะอำ แต่ต่อมาปี 2526 ได้มอบอำนาจให้กับบุตรเป็นผู้ยื่นถอนฟ้องในคดีดังกล่าว และนายชมเสียชีวิตในปีเดียวกัน ซึ่งก่อนเสียชีวิตนายชมได้ร้องเรียนขอสิทธิความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่องในหลายหน่วยงานของภาครัฐเพื่อให้ได้สิทธิในที่ดินของตน ปรากฏว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวได้มีการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 6 ม.ค.2533 สั่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดให้มีการรังวัดและพบว่าพื้นที่ทั้งหมดตาม ใบ สค. 1 มีจำนวนจริง 118 ไร่ 3 งานและต่อมาปี 2533 นายนิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว ในอำเภอชะอำในขณะนั้นได้เรื่องฟ้องนายวิศิษฐ์ มีจิตต์ นางฉะอ้อน มีจิตต์ และนางเอื่อน โตสุวรรณ์ ทายาทของนายชม ฐานความผิดที่ดินอันเป็นสาธารณะของแผ่นดินโดยตรวจสอบพื้นที่พิพาทและพื้นที่ข้างเคียง รวม 125 ไร่ว่าเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัย เป็นพื้นที่สาธารณะจำนวน 79 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา นายนิวัฒน์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล และยื่นฏีกา กระทั่งปี 2555 ศาลฏีกามีคำสั่งยกฟ้อง เนื่องจากนายอำเภอชะอำ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะอำเภอชะอำไม่ใช่นิติบุคคล คำฟ้องฟ้องเกินกฎหมายกำหนด 60 วันตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินดังกล่าวบรรพบุรุษของนายชมใช้ประโยชน์มาอยู่จริง และ ที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งอำเภอชะอำกล่าวอ้างเป็นเหตุผลคัดค้านการออกโฉนด ไม่ได้มีการประกาศอยู่ในพระราชกิจจานุเบกษา จึงไม่มีผลตามกฏหมาย
จ.ส.ต.ปพน มีจิตต์ กล่าวต่อไปว่า ต่อมาประมาณปี 2558 ตนได้รับมอบอำนาจกรรมสิทธิ์มรดกที่ดินทั้งหมดจึงได้ร้องเรียนไปที่สำนักงานนายกรัฐมนตรี ศูนย์ดำรงธรรม ประธานศาลปกครอง และประธานศาลฎีกา ตลอดจนกระทรวงยุติธรรม ขอให้ ตรวจสอบและรื้อฟื้นกรณีดังกล่าวขึ้น ซึ่ง หน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนได้มีการส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินตรวจสอบในปี 2558 แต่ปัจจุบันยังไม่มีการรังวัดหรือดำเนินการใดๆเพิ่มเติม ต่อมาปี 2559 หน่วยงานที่ได้รับร้องเรียนมีการส่งเรื่องไปที่ DSI ขอให้ตรวจสอบ จนเป็นที่มาของการตรวจสอบข้อเท็จจริงวันนี้
"พื้นที่นี้เป็นพื้นที่มรดกซึ่งตนได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่ได้รับการกลั่นแกล้งกีดกันไม่ยอมออกโฉนดให้ทั้งทั้งที่มีสิทธิ์และเอกสารถูกต้องทุกอย่าง บรรพบุรุษตนได้ร้องเรียนเรื่องนี้มาตั้งแต่สมัย ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อสู้เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมเครื่องนี้มานานกว่า 50 ปี ครั้งนี้ตนซึ่งเป็นผู้รับมรดกจึงขอทวงคืนสิทธิ์ของตน และร้องขอความเป็นธรรม ขอให้รื้อฟื้นคดีทั้งหมด และดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่ดินแปลงนี้ว่ามีการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ดำเนินการเพิกถอน และคืนสิทธิ์ให้กับตน ตลอดจนดำเนินการให้พื้นที่ที่ดินแปลงดังกล่าวมีเอกสารครบถ้วนเป็นสิทธิ์ของตนซึ่งมีสิทธิ์ตามกฎหมายทุกประการ” จ.ส.ต.ปพน กล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น