วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562
ม.กรุงเทพธนบุรี ทุ่ม 111 ล้าน ติดตั้งโซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดพลังงาน ลดภาวะโลกร้อน ผลิตพลังงานสะอาด
ม.กรุงเทพธนบุรี จับมือ บ.อาเซียนโซล่าร์ จก. ลงนามสัญญาการจัดการพลังงานด้วยระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์
ลดภาวะโลร้อน ผลิตพลังงานสะอาด มาใช้ในมหาวิทยาลัย
วันที่ 19 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 น
ณ ห้องรับรองชั้น 4 อาคาร Sport Complex มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานคร
ผศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมด้วยนายประมวล บุตรดา ผู้บริหารบริษัท เอเซียนโซล่าร์ จำกัด ได้ทำพิธีลงนามสัญญาการจัดการพลังงานด้วยระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีโดยดรบังอรเบ็ญจาธิกุลกับบริษัท เอเซี่ยนโซล่า จำกัดโดย นายประมวล บุตรดา
และสักขีพยาน ทั้งสองฝ่ายถ่ายภาพร่วมกัน
ผศ.ดร บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีกล่าวว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมีความมุ่งมั่นตั้งใจและผลิตบัณฑิตออกไปสู่สังคมเพื่อเป็นบุคลากรของประเทศที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับในการสร้างสรรค์สังคมจึงเน้นเรื่องการปลูกฝังค่านิยมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและสังคมโลกแก่นักศึกษาและบัณฑิต ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นขณะนี้เป็นปัญหาระดับโลก และเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
ด้วยเหตุนี้ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี จึงมีนโยบาย ให้มหาวิทยาลัย๚ เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ลดจำนวนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น มุ่งเน้นที่ผลิตพลังงานสะอาดเพื่อใช้เองภายในมหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมกับบริษัทเอเซียนโซล่าร์ จำกัดติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาของอาคารภายในมหาวิทยาลัย ๚ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 3 เม็กกะวัตต ์มีมูลค่าการลงทุน 111 ล้านบาท นอกจากทางมหาวิทยาลัย๚ สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าแล้ว ที่สำคัญยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วยโดยเลือกใช้เทคโนโลยีของประเทศเยอรมันนีทั้งหมดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุด
มหาวิทยาลัยเทพชลบุรีเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่เป็นรายแรกของประเทศที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้วยังเป็นผู้บุกเบิกด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์รวมทั้งการลงทุนด้านการพลังงานทดแทนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศซึ่งมหาวิทยาลัยมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำพามหาวิทยาลัยไปอีกมิติหนึ่งพร้อมกันนี้จะเปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านการพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและบุคคลภายนอกที่สนใจเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ด้านนายประมวล บุตรดา ผู้บริหารบริษัท เอเซียนโซล่าร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ยินดีที่มหาลัยกรุงเทพธนบุรีให้ความไว้วางใจเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา( Solar Rooftop) สำหรับการติดตั้งแผง
Solar Rooftop ขนาด 3 เม็กกะวัตต์ หรือ 8,956 แผงนั้น จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 4 ล้านหน่วยต่อปีหรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของมหาวิทยาลัย๚เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าทั้งในแง่ของการประหยัดค่าไฟฟ้า และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น