วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สมาคมสภารักษาความปลอดภัย ทวงถามความคืบหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรณีให้ยับยั้งกฎหมายแรงงานที่มีผลกระทบต่ออาชีพ รปภ.

 สมาคมสภารักษาความปลอดภัย ทวงถามความคืบหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรณีให้ยับยั้งกฎหมายแรงงานที่มีผลกระทบต่ออาชีพ รปภ.




สมาคมสภารักษาความปลอดภัย นำโดย

ว่าที่เรือตรี สิทธิพร บาลทิพย์ นายกสมาคมสภารักษาความปลอดภัย ร่วมกับ 18 องค์กรภาคีเครือข่ายผู้ประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัย เข้าพบ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อทวงถามความคืบหน้ากรณีที่เคยยื่นหนังสือยับยั้งข้อเสนอของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง ร่างกฎหมายจ่ายค่าจ้างพนักงาน รปภ. ในส่วนที่เกิน 8 ชั่วโมง หรือค่าจ้างในการทำงานวันหยุดโดยให้รับเท่ากันกับลูกจ้างอื่นทั่วไป 












โดยผู้แทนสมาคม และผู้แทนจาก 18 องค์กรได้เสนอข้อดี ข้อเสีย ของร่างกฏหมายดังกล่าวในที่ประชุม โดยเฉพาะกรณีจ่ายค่าล่วงเวลา 1.5 ซึ่งจากเดิม 1.0 หากมีผลบังคับใช้ จะส่งผลกระทบ คือต้องลดจำนวนพนักงาน รปภ. ลง 1 ใน 3 เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งพนักงาน รปภ. อาจตกงาน แสนกว่าคน หากผู้ว่าจ้างต้องลดชั่วโมงการทำงานเหลือ 8 ชม.ไม่จ้างงานล่วงเวลา พนักงาน รปภ. จะได้ค่าจ้างเพียงเดือนละ 9,000 บาท จากเดิม 15,000 บาท ซึ่งไม่พอกินพอใช้
















การทำงานรักษาความปลอดภัย 12 ชั่วโมง เป็นความสมัครใจของพนักงาน ซึ่งทำมากว่า 51 ปี ก่อนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะบังคับใช้ หากมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบแน่นอน จึงขอให้ทบทวนหารือข้อกฏหมายแรงงานดังกล่าว  ซึ่ง รมว. แรงงาน กล่าวว่าพร้อมนำปัญหาที่ได้รับวันนี้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหลังปีใหม่จะเรียกทุกหน่วยงาน ผู้ประกอบการ และพนักงาน รปภ. มาหรือแนวทางการแก้ปัญหาอีกครั้ง

ทีมข่าวภาคสนาม/รายงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น