วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“ความพร้อมของประชาชนในการรับมือโรคฝีดาษวานร”

 “ความพร้อมของประชาชนในการรับมือโรคฝีดาษวานร” 


สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความพร้อมของประชาชนในการรับมือโรคฝีดาษวานร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22–30 สิงหาคม 2567 จากการสำรวจ เกี่ยวกับความรู้สึกเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษวานรของประชาชน ตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 73.36 ระบุว่า มีความรู้ระดับปานกลาง มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 21.36 ระบุว่า มีความรู้เล็กน้อย และร้อยละ 5.28 ระบุว่า ไม่มีความรู้เลย เมื่อสอบถามเกี่ยวกับแหล่งที่มาของความรู้ความเข้าใจหลักเกี่ยวกับโรคฝีดาษวานรของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.36 ระบุว่า สื่อสังคมออนไลน์ มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 21.54 ระบุว่า สื่อมวลชน  ร้อยละ 11.64 ระบุว่า หน่วยงานสาธารณสุข ร้อยละ 7.42 ระบุว่า ชุมชน และร้อยละ 5.04 ระบุว่า สมาชิกในครอบครัว และเมื่อสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรคฝีดาษวานรของภาครัฐที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 62.32 ระบุว่า การจัดหาวัคซีน มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 16.34 ระบุว่า มาตรการควบคุมการระบาด ร้อยละ 11.32 ระบุว่า การสื่อสารและแจ้งเตือน ร้อยละ 7.68 ระบุว่า การตรวจจับและเฝ้าระวังโรค และร้อยละ 2.34 ระบุว่า การวิจัยและพัฒนา



ดร.ธนเสฎฐ์ อัคคัญญ์ภูดิส

อาจารย์ประจำสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล

โทรศัพท์ มือถือ 089-474-9514


สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม โทรสาร02-878-5002

E-mail:siamtechno_poll@siamtechno.ac.th

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดพิธีแจกเครื่องอุปโภคบริโภคครั้งยิ่งใหญ่ในงานประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2567

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดพิธีแจกเครื่องอุปโภคบริโภคครั้งยิ่งใหญ่ในงานประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2567




เวลา 09:00 น.วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  ผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธานในพิธี ประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2567 พร้อมคณะผู้บริหารมูลนิธิฯ นำโดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ รองประธานกรรมการ นายสัก กอแสงเรือง รองประธานกรรมการ นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ  พร้อมด้วยคณะกรรมการ และผู้ช่วยกรรมการมูลนิธิฯ จัดพิธีแจกเครื่องอุปโภคบริโภค เนื่องในงานประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2567  จำนวน 20,000 ชุด ให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เดินทางมารอรับกันอย่างเนืองแน่น โดยสิ่งของที่แจกประกอบด้วย ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำปลา น้ำมันพืช ขนม ฯลฯ บรรจุถุงผ้ามูลนิธิฯ พร้อมมอบค่าพาหนะคนละ 100 บาท โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติ ผู้แทนหน่วยงานในเครือมูลนิธิฯ และอาสาสมัครกิตติมศักดิ์ อาทิ  ดร.ปภัสรา เตชะไพบูลย์ นางศิริวรรณ โอภาสวงศ์  นางศิริพร โอภาสวงศ์ และ นายพลภัทร เตชะหรูวิจิตร ร่วมในพิธี ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ








     โดยบรรยากาศภายในงาน ได้มีผู้มีจิตศรัทธา ร่วมแจกจ่ายอาหาร และเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนที่มารอรับสิ่งของ รวมถึงเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครมูลนิธิฯ จัดทีมดูแลประชาชนตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567  ที่ผ่านมา นอกจากนี้ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครศิลปิน นำโดย  นางดวงตา ตุงคะมณี  นายนพดล ทรงแสง (จิ้ม ชวนชื่น) นายธวัชชัย คชาอนันต์ (แฮ็ค ชวนชื่น) นายสวิช  เพชรวิเศษศิริ (บี๋)  นายปิยะวัฒน์ รัตนหรูวิจิตร (หรูหรา)  นางสาวพรชดา วราพชระ (มะเหมี่ยว)  นางสาวอาจารียา พรหมพฤกษ์ (หลิว)  ฯลฯ  ร่วมแจกจ่ายสิ่งของ แสดงดนตรี และสร้างสีสันภายในงาน โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และอิ่มเอมใจทั้งผู้ให้และผู้รับ







     นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เปิดเผยว่า งานประเพณีทิ้งกระจาด เป็นงานบุญที่สำคัญของชาวพุทธ ซึ่งปฏิบัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ด้วยการนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง มาเซ่นไหว้ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน และดวงวิญญาณที่ไร้ญาติ แล้วแจกเป็นทานแก่ผู้ยากไร้ เป็นงานบุญที่ครบทั้งการทำบุญและให้ทาน ซึ่งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้จัดทำสืบทอดประเพณีทิ้งกระจาดต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อตั้งมูลนิธิฯ เป็นเวลากว่า 100 ปี  โดยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 10 สิงหาคม  และ 24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ทำพิธีแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค ณ สุสานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร  และ คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาโคราช จังหวัดนครราชสีมา และสาขาศรีราชา จังหวัดชลบุรี รวมงบประมาณการจัดงานประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2567 แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน ทั้ง 4 แห่ง เป็นจำนวนเงินกว่า 13.3 ล้านบาท

     ตลอดระยะเวลากว่า 114 ปี มูลนิธิฯ ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กร สาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

     ติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

     มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอบุญบารมีองค์หลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ดลบันดาลให้ผู้มีจิตศรัทธา เจ้าหน้าที่  อาสาสมัคร และครอบครัวของทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในงานมหาบุญมหากุศลนี้  มีความสุข ความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็งแรงตลอดปี ตลอดไป

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”


ขอขอบคุณ

คุณ เปิ้ล และทีมงานฝ่ายสื่อสารองค์กรมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยแผนกอาสาสมัครฯ จัดทีมอาสมัครฯ ช่วยเหลือประชาชน กระจายกำลัง จัดตั้ง “โรงครัวเคลื่อนที่" จัดทีมบรรเทาทุกข์ช่วยชาวสุโขทัย.. สู้ภัยน้ำท่วม

  มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง 

โดยแผนกอาสาสมัครฯ

 จัดทีมอาสมัครฯ

ช่วยเหลือประชาชน กระจายกำลัง จัดตั้ง 

“โรงครัวเคลื่อนที่"  

จัดทีมบรรเทาทุกข์ช่วยชาวสุโขทัย.. สู้ภัยน้ำท่วม

.



เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยผู้ประสบภัยจังหวัดสุโขทัย มอบหมายให้นายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ จัดทีมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครมูลนิธิฯ นำโดยนายสำอางค์ สว่างแจ้ง ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกอาสาสมัคร,นายกฤษณะ ชาติเอกชัย หัวหน้าผู้ควบคุมฯ

 ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ประกอบอาหารปรุงสุก พร้อมจัดเตรียมน้ำดื่ม และถุงยังชีพ เพื่อบรรทุกรถและเรือ ลงพื้นที่แจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ อาทิ บ้านท่าทอง และบ้านวังทอง อำเภอสวรรคโลก หมู่บ้านคลองกระจง คลองเกษม วังใหญ่ อำเภอศรีโสภา พร้อมทั้งอพยพประชาชน รวมถึงผู้ป่วยออกจากพื้นที่ประสบภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย  โดยจัดตั้งโรงครัวเคลื่อนที่ ณ วัดโสภาราม อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

.





ทั้งนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการภารกิจในพื้นที่ และเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินและเข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านต่าง ๆ  ต่อไป 

.





สำหรับผู้มีจิตศรัทธาที่มีความประสงค์จะบริจาคสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม หรือติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และเฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung หรือ ติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง 1418

.





ติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

.

.

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพแก่สตรีแม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พร้อมนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการฟรี

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพแก่สตรีแม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พร้อมนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการฟรี

.


วันนี้ (วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2567) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นางจินดา บุญลาภทวีโชค กรรมการตรวจสอบ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ และ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชนนำทีมลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ  จำนวน 11 ราย  คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 218,260 บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสองร้อยหกสิบบาทถ้วน) เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชีวิต  ให้กับสตรีได้นำวัสดุอุปกรณ์ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยมี นายพชรเสฏฐ์ บุญศิริสาริศา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย  นางสาวกุรุพิน สิงห์น้อย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสตรี ผู้แทนกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ นางศิริกานต์ ชาวห้วยหมาก ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านสองแคว ร่วมในพิธี พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชน ฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น ฯลฯ โดยมีประชาชนเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก ณ  ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก

.




นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อย มีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ โดยมูลนิธิฯ มุ่งหวังในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชีวิต  ให้กับสตรีได้นำวัสดุอุปกรณ์ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป  โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูนลำปาง เชียงราย และจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ดำเนินการมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพแก่สตรีไปแล้ว 6 แห่ง จำนวน 52 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,018,679 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยเจ็ดสิบเก้าบาทถ้วน)

.





ตลอดระยะเวลากว่า 114 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ต่อไป

.





ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

.





#ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต#

#แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ทีมบรรเทาสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโรงครัวเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์กู้ชีพ กู้ภัย เรือท้องแบน และรถพยาบาลขับเคลื่อน 4 ล้อ ถุงยังชีพ น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน อาหารสุนัขและแมว เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย

 ทีมบรรเทาสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโรงครัวเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์กู้ชีพ กู้ภัย เรือท้องแบน และรถพยาบาลขับเคลื่อน 4 ล้อ ถุงยังชีพ น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน อาหารสุนัขและแมว เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย

.


ตามที่ได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงราย สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เมื่อวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบหมายให้นายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ จัดทีมบรรเทาสาธารณภัย นำโดย นายวรพจน์ จรัสเศรษฐสิริ รักษาการผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ  นำทีมกู้ภัย กู้ชีพ อาสาสมัคร พร้อมเรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ รถยกสูง 4x4 รถพยาบาลขับเคลื่อน 4 ล้อ  รถโรงครัวเคลื่อนที่ ถุงยังชีพ น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน อาหารสุนัขและแมว ออกเดินทางลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันที ซึ่งในขณะนี้มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้จัดตั้งกองอำนวยการและโรงครัวประกอบอาหารปรุงสุก ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 

.






โดยวานนี้ (วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567) ทีมบรรเทาสาธารณภัย ประกอบอาหารปรุงสุกบรรจุกล่องพร้อมน้ำดื่ม รวมจำนวน 1,050 กล่อง พร้อมอาหารสุนัขและแมวจำนวนหนึ่ง ออกแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ อาทิ บ้านร่องริว  บ้านเวียงเหนือ บ้านเวียงใต้ บ้านบางควาย บ้านพระเกิด บ้านใหม่ ในทันที

.





ทั้งนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการภารกิจในพื้นที่ และเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินและเข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านต่าง ๆ  ต่อไป 

.






สำหรับผู้มีจิตศรัทธาที่มีความประสงค์จะบริจาคสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม หรือติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และเฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung หรือ ติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง 1418

.





ติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

.

.

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน