วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัย จัดงบกว่า 6.6 ล้านบาท ลงพื้นที่ฟื้นฟูหลังน้ำลด แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต 5 จังหวัดภาคใต้

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัย จัดงบกว่า 6.6 ล้านบาท ลงพื้นที่ฟื้นฟูหลังน้ำลด แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต 5 จังหวัดภาคใต้

.



ระหว่างวันที่ 25 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการฯ ห่วงใยผู้ประสบอุทัยภัยภาคใต้ มอบหมายให้ นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วยนางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ และนายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ นำทีมฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 5 จังหวัดภาคใต้ ในโครงการฟื้นฟูหลังน้ำลด ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำมัน และน้ำปลา รวมจำนวน 9,000 ชุด ๆ ละ 450 บาท มอบเงินสงเคราะห์กรณีบ้านพังเสียหายทั้งหลัง หลังละ 10,000 บาท ประมาณ 217 หลังคาเรือน มอบเงินสงเคราะห์ค่าฌาปนกิจให้แก่ญาติผู้เสียชีวิต รายละ 20,000 บาท ประมาณ 22 ราย รวมงบประมาณไม่ต่ำว่า 6.6 ล้านบาท โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งมูลนิธิสงเคราะห์ 14 จังหวัดภาคใต้ และ สมาคม/มูลนิธิแต่ละจังหวัด เป็นผู้ประสานงานและร่วมให้ความช่วยเหลือ

.





โดยวานนี้ (วันอังคารที่ 30 มกราคม 2567) นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วยนางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ และนายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวอำเภอเมือง และอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส มอบเงินค่าฌาปนกิจศพให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย รวมจำนวน 13 ราย มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังเสียหายทั้งหลังจากเหตุอุทกภัย รวมจำนวน 127 ราย และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยมี นายวีรพัฒน์ บุณฑริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย มูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัย 14 จังหวัดภาคใต้ พร้อมด้วย มูลนิธิเมตตาธรรมนราธิวาส จ.นราธิวาส เป็นผู้ประสานงานและร่วมให้ความช่วยเหลือ 

.





ตลอดระยะเวลา 114 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ”

.





ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung







.

## มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ##

#แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ



มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน มอบจักรยานให้กับโรงเรียนในพื้นที่ชนบท พร้อมนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการแก่ชาวศรีสะเกษฟรี

.

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.30 น.) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ ร่วมในพิธีมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 22 ครัวเรือน พร้อมทั้งมอบจักรยาน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” ครั้งที่ 4 จำนวน 50 คัน กระบอกน้ำ จำนวน 250 ใบ   แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน รวม 5 แห่ง เพื่อให้นักเรียนที่ประสบปัญหาในการเดินทางได้ยืมเรียน รวมถึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าพาหนะแก่ผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเสริมสร้างให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย เรียนรู้กฎจราจร เรียนรู้การแบ่งปัน และดูแลรักษาสาธารณสมบัติร่วมกัน  โดยมีนางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานร่วมในพิธี พร้อมด้วย คณะมูลนิธิการกุศลอุบลราชธานี เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี นายวาทิต โสภา (วิน-วาทิต) อาสาสมัครศิลปิน  นางสาวอธิชา เทศขำ (เมย์-อธิชา) ร่วมในพิธี รวมทั้ง ประชาชน เยาวชน และผู้แทนจากสถาบันการศึกษา เป็นผู้รับมอบ ณ  บริเวณหอประชุมจังหวัดอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

.





หลังจากนั้น ในเวลา 13.30 น. มูลนิธิฯ ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจน จำนวน 18 ครัวเรือน พร้อมทั้งมอบจักรยาน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” ครั้งที่ 4  จำนวน 50 คัน กระบอกน้ำ จำนวน 250 ใบ แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน รวม 5 แห่ง โดยมีนางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานร่วมในพิธี พร้อมด้วย คณะมูลนิธิศรีสะเกษสงเคราะห์ และมูลนิธิสว่างจิตต์ศรีสะเกษธรรมสถาน เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี รวมทั้ง ประชาชน และผู้แทนจากสถาบันการศึกษา เป็นผู้รับมอบ  พร้อมกันนี้ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น  และบริการตัดผม ฯลฯ โดยมีประชาชนเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก  ณ  บริเวณหอประชุมจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

.




รวมมูลค่าการดำเนินการในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 955,160 บาท (เก้าแสนห้าหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน) 

.

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม ซึ่งปัจจุบันทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ลงพื้นที่มอบไปแล้วรวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด 187 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,839,765 บาท (สามล้านแปดแสนสามหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)




.

.

.

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung  

.

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชันและสายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งลงพื้นที่ซับน้ำตา..มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุโรงงานพลุระเบิด จังหวัดสุพรรณบุรี

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งลงพื้นที่ซับน้ำตา..มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุโรงงานพลุระเบิด จังหวัดสุพรรณบุรี

.





ตามที่ได้เกิดเหตุโรงงานพลุระเบิดในพื้นที่ ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากนั้น โดยภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้มอบหมายให้ นายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ จัดทีม ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำโดย นางศิริพร กระจ่างหล้าง ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ พร้อมด้วย นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลือแก่ญาติผู้เสียชีวิตในทันที

.





วันนี้ (วันพุธที่ 24 มกราคม 2567) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก และ นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา กรรมการปฏิคม นำทีมแผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำโดย นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาขาว  เพื่อเข้าพบพร้อมให้กำลังใจและมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว รวม 23 รายๆ ละ 20,000 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 460,000 บาท (สี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน) โดยมี 

นายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วย อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย ดร.ปภัสรา เตชะไพบูลย์ อาสาสมัครกิตติมศักดิ์ ร่วมในพิธี ณ องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

.





.

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอแสดงความเสียใจ และขอส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทุกท่านมา ณ ที่นี้

.

ตลอดระยะเวลา 114 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตจากสาธารณภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ”

.





ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

.

## มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ##

#แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

พิธีเปิด โรงพยาบาลสัตว์ณัฐรดา(อ่อนนุช)

 



วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2567 


พิธีเปิด โรงพยาบาลสัตว์ณัฐรดา(อ่อนนุช)


เมื่อเวลา 09.09 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ (อดีตเลขานุการประจำอดีตประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดโรงพยาบาลสัตว์ณัฐรดา และ ตัดริบบิ้น ในเวลา 09.09 น.





และแขกผู้มีเกียรติมาร่วมอวยพรแสดงความยินดี กับทาง สพ.ญ.ณัฐรดา วัฒนาชยากูล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลสัตว์ณัฐรดา กันหลายท่าน อาทิเช่น กลุ่มเมตตาธรรม  พันเอก ทวีป สินพิชัย(เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองกองทัพบก) คุณอำพัน เพ็ญพรหม(โอ่ง บางนา)

คุณรัตติกานต์ ทัศนารักษ์ คุณสมยศ สังข์สา(รองประธานชมรมเพื่อนคนใต้สมุทรปราการ ที่ปรึกษาชมรมชาวปักษ์ใต้บางนา-กรุงเทพมหานคร) คุณสุริยันต์ สมานสวน(รองนายกสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย)





จากนั้น สพ.ญ.ณัฐรดา วัฒนาชยากูล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลสัตว์ณัฐรดา ได้เป็นผู้นำเดินชมและอธิบายถึงในส่วนต่างๆของโรงพยาบาล ที่มีอย่างครบวงจรในการรักษาพยาบาลสัตว์เลี้ยง เช่น ส่วนห้องตรวจ ห้องเอ๊กซเรย์ ห้องผ่าตัด ห้องสัตว์ป่วยในติดเชื้อ ห้องสัตว์ป่วยในไม่ติดเชื้อ ห้องสัตว์ป่วยวิกฤต และห้องเก็บศพ  รวมไปถึงในส่วนของการรับดูแลสัตว์เลี้ยง เช่น ห้องอาบน้ำ-ตัดขน สัตว์เลี้ยง  โรงแรมสุนัข โรงแรมแมว และ PET SHOP.





กระทั่งเวลา 10.00 น. ได้ร่วมรับประทานอาหาร(โต๊ะจีน) และแขกผู้มีเกียรติร่วมแสดงความยินดีและอวยพร ให้กับเจ้าภาพ สพ.ญ.ณัฐรดา วัฒนาชยากูล

ทีมข่าวภาคสนาม/รายงาน