วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ทึ่ง!! ใจกลางเมืองหลวงมีสวนกลางกรุง ที่มีค้างคาว หิ่งห้อย ตามธรรมชาติสวนสมบูรณ์

 ทึ่ง!! ใจกลางเมืองหลวงมีสวนกลางกรุง ที่มีค้างคาว หิ่งห้อย ตามธรรมชาติสวนสมบูรณ์



คุณปิยะ​ สุทันต์ เจ้าของไอเดีย สวนกลางกรุง ที่เห็นความสำคัญของพื้นที่สวนกว่า​ 1​ ไร่ ของคนรุ่นเก่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ อยู่ใจกลางกรุงเทพ ภายในซอยจรัญสนิทวงศ์ 13  ซอยพานิชธน 9 แยก 10 





ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี มีคูคลองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยวัชพืช อาหารของสัตว์น้ำ หิ่งห้อย อีกทั้งสวนผลไม้อาหารค้างคาว ที่ช่วงเย็น และกลางคืนจะออกมาให้เห็น จึงปิ้งไอเดียพัฒนาให้เป็นสวนกลางกรุง ด้วยงบประมาณของตัวเอง ก่อนที่จะจับมือกับต่างชาติที่มีแนวคิดเชิงอนุรักษ์​เช่นเดียวกันในการต่อยอดพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ธรรมขาติแบบครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9



ล่าสุดจับมือกับหลายฝ่ายและสถานศึกษาอาชีวธนบุรี เตรียมเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ศูนย์ฝึกอาชีพเด็กและเยาวชน อีกทั้งเตรียมพัฒนาพื้นที่อีกกว่า 100 ไร่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์​ธรรมชาติด้วย











ทีมข่าว/รายงาน

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบโอกาส “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน .. ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน พร้อมมอบจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” พร้อมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี .

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบโอกาส “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน .. ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน พร้อมมอบจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร”  พร้อมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี

.


วานนี้ (วันที่ 27 มิถุนายน 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต  ชินวงศ์วรกุล  รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายสุรพงษ์  เตชะหรูวิจิตร  กรรมการและรองเลขาธิการ นางสาวดวงชุตา  ติยะพจนพรกุล  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ  ร่วมในพิธีมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ (จังหวัดที่ 4 ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 27 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 617,020 บาท (หกแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันยี่สิบบาทถ้วน) โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  นายโดมทอง ดิเรกศิลป์ พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานร่วมในพิธี  ณ  บริเวณหอประชุมจังหวัดชัยภูมิ ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

.




พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้มอบรถจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” จำนวน 4 โรงเรียน รวม 40 คัน เพื่อให้นักเรียนที่ประสบปัญหาในการเดินทางได้ยืมเรียน รวมถึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าพาหนะแก่ผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเสริมสร้างให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย เรียนรู้กฎจราจร การแบ่งปัน และดูแลรักษาสาธารณสมบัติร่วมกัน รวมมูลค่าการมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพ และรถจักรยานในจังหวัดชัยภูมิเป็นเงินทั้งสิ้น  681,915.50 บาท (หกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยสิบห้าบาทห้าสิบสตางค์) รวมทั้ง ได้จัดทีมหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมแพทย์อาสาฯ และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย ตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา บริการตัดผม และ ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น  โดยมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

.






โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์  ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม โดยมูลนิธิฯ จะทยอยลงพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเพื่อดำเนินการเป็นลำดับต่อไป







ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ 

เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung  

.

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” 

#มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง110ปีความดีที่ยั่งยืน 

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วน ป่อเต็กตึ๊ง1418 

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กรมศุลกากร ชี้แจง กรณีจับทุเรียนลักลอบนำเข้า จำนวน 8,420 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

     วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566



  กรมศุลกากร ชี้แจง กรณีจับทุเรียนลักลอบนำเข้า

จำนวน 8,420 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท 


      ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 กรณีเจ้าหน้าที่ศุลกากร ด่านศุลกากรอรัญประเทศจับกุมทุเรียนลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ต่อมามีข่าวว่าเจ้าของทุเรียนแจ้งว่าทุเรียนที่ถูกจับไม่ใช่ทุเรียนลักลอบนำเข้า แต่เป็นทุเรียนที่มาจาก จ.ศรีษะเกษ นั้น



วันนี้ ( 26 มิถุนายน 2566) นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า 

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 06.00 น. เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสายลับว่าจะมีการนำทุเรียนลักลอบนำเข้าจากแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณ ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ 

จ.สระแก้ว จึงขอให้เจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจค้นจับกุม โดยสายลับจะเป็นผู้นำชี้ให้ทำการตรวจค้นด้วยตนเอง จนกระทั่งเวลา 08.00 น. เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสายลับว่ารถบรรทุกที่ขนทุเรียนลักลอบได้ออกจากพื้นที่แนวชายแดนแล้ว มุ่งหน้าไปทางถนนหมายเลข 317 เจ้าหน้าที่จึงลงพื้นที่บริเวณที่สายลับแจ้ง จนกระทั่งเวลาประมาณ 09.45 น. ได้พบรถบรรทุก 6 ล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว หมายเลขทะเบียน 68-2537 กทม. มีผ้าใบคลุมทับ ตามที่ได้รับแจ้งที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลวังสมบูรณ์ ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว เจ้าหน้าที่จึงให้สัญญาณหยุดรถเพื่อขอทำการตรวจค้น และได้พบคนขับรถ เจ้าหน้าที่ได้แสดงตนพร้อมแจ้งเหตุแห่งความสงสัยให้ทราบ 




ผลการตรวจค้นพบทุเรียนสดบรรจุอยู่ภายในกระบะบรรทุก เจ้าหน้าที่ได้สอบถามคนขับรถถึงที่มาซึ่งของที่ตรวจพบ และได้รับคำชี้แจงว่าตนเป็นคนขับรถรับจ้าง โดยได้รับการว่าจ้างให้นำรถบรรทุกมารับทุเรียน น้ำหนัก 8,420 กิโลกรัม ที่บริเวณหลังวัดเขาน้อย ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อไปถึงสถานที่ดังกล่าวมีชาวกัมพูชาเป็นผู้ขนถ่ายทุเรียนขึ้นรถให้ ซึ่งผู้ว่าจ้างได้สั่งให้นำทุเรียนไปส่งที่ล้งใน จ.จันทบุรี โดยได้รับจ้าง 6,000 บาท โดยไม่มีเอกสารการผ่านพิธีการศุลกากรมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ทั้งนี้ ตนจะติดต่อผู้ว่าจ้างให้มาพบเจ้าหน้าที่ต่อไป เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาให้คนขับรถทราบ และนำของกลางพร้อมคนขับรถ และรถบรรทุกคันดังกล่าวส่งด่านฯ อรัญประเทศ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย





ต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. ในวันเดียวกันเจ้าของสินค้าได้มาพบเจ้าหน้าที่ โดยแสดงตนเป็นเจ้าของทุเรียนที่ตรวจพบ และได้ให้การรับสารภาพว่าตนได้รับซื้อทุเรียนมาจากชาวกัมพูชาโดยทราบว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 โดยเจ้าของสินค้าให้การรับสารภาพตลอด ข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวเจ้าของสินค้าส่งงานคดี ด่านศุลกากรอรัญประเทศเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป



ส่วนประเด็นเรื่องทุเรียนรับซื้อมาจากจังหวัดศรีสะเกษ กรมศุลกากรได้ตรวจสอบเส้นทางของรถยนต์คันดังกล่าวแล้ว พบว่าในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 รถยนต์คันดังกล่าวมิได้มีการเดินทางเข้าไปในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษแต่ได้มีการใช้รถอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและสระแก้วเท่านั้น 



สำหรับในกรณีทำการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมได้เข้าจับกุมโดยสุภาพ มิได้มีการขู่เข็ญบังคับแต่อย่างใด และเจ้าของสินค้าก็มาแสดงตนยอมรับด้วยตนเอง และได้มีการบันทึกคำให้การโดยสมัครใจตามหลักเกณฑ์ของทางราชการ ซึ่งภายหลังจากที่เป็นข่าว ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าของทุเรียนได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภอ.คลองลึก โดยมิได้โต้แย้งการจับกุม หรือการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับของกลางเท่านั้น



กรมศุลกากรยังคงดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตภายในประเทศ และเป็นการป้องกันการสวมสิทธิผลไม้ไทยที่ส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกษตรกรไทยและผู้ประกอบการที่สุจริต ต่อไป

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566

 



จ.สุรินทร์ -  อบต.โคกยาง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์  จัดกิจกรรมมอบผ้าอ้อมผู้ใหญ่ (แพมเพิส) สำหรับผู้ป่วยติดเตียง  คนละ 3 ผืน ต่อวัน เป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยมีนายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สส.เขต 7 พรรคภูมิใจไทย  อ.ปราสาท ให้เกียรติ มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย  สร้างความดีใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างยิ่งเพราะ ทำให้ลดค่าใข้จ่ายในครอบครัวลงเป็นจำนวนมาก

  ทางด้านนางพลอยสิชา  ชมบุญ  นายก อบต.โคกยาง  กล่าวว่า  กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิเช่น  รพ.สต.ทั้งสองแห่งในตำบล  กลุ่มพลัง อสม.  ส.อบต. และฝ่ายสาธารณสุข สำนักปลัด อบต.โคกยาง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมานจาก กองทุน สปสช.ตำบลโคกยาง และข้อมูลผู้ป่วยจาก รพ.สต.ในตำบลทั้งสองแห่ง  นางพลอยสิชา  ชมบุญ  ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลผู้ป่วยอาจมีเพิ่มเติมจากวันที่สำรวจมาบ้างตนได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดำเนินการประสานงานทาง อบจ.สุรินทร์ ซึ่งก็มีโครงดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป ส่วนกิจกรรมของ อบต.โคกยาง มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอีกหลายโครงการ ซึ่งตนได้มอบหมายให้ นางมณีรัตน์ รำจวน ปลัด อบต. เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณนี้แล้ว

ทีมข่าว/รายงาน









  

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

"ตม.จว.ฉะเชิงเทรา กวดขันแรงงานต่าวด้าวแย่งอาชีพคนไทย จับสองสาวลาวแอบเปิดร้านส้มตำ!!”

 "ตม.จว.ฉะเชิงเทรา กวดขันแรงงานต่าวด้าวแย่งอาชีพคนไทย จับสองสาวลาวแอบเปิดร้านส้มตำ!!”


 

ตามนโยบายระดมกวาดล้างอาชญากรรมของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธ์ ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารท รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.ตม.3 และ พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด รอง ผบก.ตม.3 ให้ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา บก.ตม.3 โดย พ.ต.อ.อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์ ผกก.ตม.จว.ฉะเชิงเทรา บก.ตม.3, พ.ต.ท.รัชกฤช รัมจันทร์ รอง ผกก.ตม.จว.ฉะเชิงเทรา บก.ตม.3 และ พ.ต.ต.ยงยุทธ เลิศปรีชาพงศ์ สว.ตม.จว.ฉะเชิงเทรา บก.ตม.3 กวดขันจับกุมแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพในลักษณะการแย่งอาชีพของคนไทย และเป็นอาชีพต้องห้าม




          จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน ตม.จว.ฉะเชิงเทรา นำโดย พ.ต.ต.ยงยุทธ เลิศปรีชาพงศ์ สว.ตม.จว.ฉะเชิงเทรา ได้ออกตรวจคนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน และเป็นอาชีพต้องห้ามที่สงวนไว้ให้คนไทย ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลาประมาณ 13.30 น. ได้ออกตรวจร้านค้าส้มตำริมทาง ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา พบว่าภายในร้านส้มตำดังกล่าว มีหญิงชาวลาว 2 คน ทำงานอยู่ในร้าน โดยได้สอบถามและขอดูหนังสือเดินทางจนทราบว่า คือ น.ส.แอร์ (นามสมมุติ) อายุ 47 ปี และ น.ส.พนสะวัน (นามสมมุติ) อายุ 41 ปี เป็นชาวลาวสองพี่น้องได้เข้ามาในประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว แต่ได้มาช่วยกันเปิดร้านส้มตำและอาหารตามสั่ง โดยภายในร้านยังพบหลักฐานบิลเงินสด เลขบัญชีธนาคารของ น.ส.แอร์ และหมายเลขโทรศัพท์พร้อมเพย์ ที่พิมพ์พร้อมเคลือบพลาสติกติดและเขียนไว้ในร้านเพื่อให้ลูกค้าโอนเงินชำระค่าอาหารได้ สอบถามทั้งสองคนยอมรับว่าเป็นคนทำทุกอย่างในร้านทั้งปรุงอาหาร เก็บเงินลูกค้า ทำความสะอาด โดยเข้าใจว่าสามารถขายของได้ จึงได้อธิบายให้ทราบแล้วว่าหากเป็นคนต่างด้าวจะประกอบอาชีพต้องขอใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้อง และจะต้องศึกษาด้วยว่าเป็นอาชีพที่ทำได้หรือไม่ หลังจากนั้นจึงได้จับกุมชาวลาวทั้งสองคน ข้อหา "เป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน" ยึดบิลเงินสดไว้เป็นของกลาง ส่ง พงส.สภ.พนมสารคาม เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป 




          โดยเจ้าหน้าที่ ตม.จว.ฉะเชิงเทรา และเจ้าหน้าที่จัดหางานจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ออกตรวจสอบและจับกุมแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างต่อเนื่อง โดยอยากฝากถึงคนต่างด้าวและผู้ประกอบการชาวไทยขอให้ใช้แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย เนื่องจากหากพบการกระทำความผิดทั้งแรงงานต่างดาวและนายจ้างจะถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และมีบทลงโทษอาจถูกจำคุกหรือปรับได้ ส่วนแรงงานต่างด้าวหลังถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วจะต้องถูกส่งกลับประเทศอีกด้วย




          หากผู้ใดมีเบาะแสคนต่างด้าวลับลอบเข้ามาในประเทศหรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ งานสืบสวนฯ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่หมายเลข 038-554-516