วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งซับน้ำตา..มอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต และเงินปลอบขวัญแก่ผู้บาดเจ็บจากเหตุพายุถล่มอาคารโดมโรงเรียนวัดเนินปอ จังหวัดพิจิตร

 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งซับน้ำตา..มอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต และเงินปลอบขวัญแก่ผู้บาดเจ็บจากเหตุพายุถล่มอาคารโดมโรงเรียนวัดเนินปอ จังหวัดพิจิตร

.


ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์พายุถล่มอาคารโดมโรงเรียนวัดเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกหลายราย เมื่อวันที่  22 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยภายหลังเกิดเหตุ อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จุดจังหวัดพิจิตร ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล และเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจากจุดเกิดเหตุ

.




วันนี้ (วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา กรรมการปฏิคม  และนางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำทีมเจ้าหน้าที่สาธารณภัยลงพื้นที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์และให้ความช่วยเหลือสาธารณภัย วาตภัย อำเภอสามง่าม เพื่อเข้าพบพร้อมให้กำลังใจ และมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 7 รายๆ ละ 20,000 บาท  และมอบเงินปลอบขวัญแก่ผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 5 รายๆ ละ 5,000 บาท รวมงบประมาณการช่วยเหลือทั้งสิ้น  165,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยมี นายสุภโชค ศิลปคุณ นายอำเภอสามง่าม ร่วมในพิธี พร้อมด้วย มูลนิธิพิจิตรสามัคคีการกุศลสงเคราะห์ จังหวัดพิจิตร เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี ณ บริเวณเทศบาลตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร   

.





มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอแสดงความเสียใจ และขอส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทุกท่านมา ณ ที่นี้

.





ตลอดระยะเวลากว่า 113 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

ตี๋สมเด็จ/รายงาน

กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ลงพื้นที่จ.กาญจนบุรี ตรวจสอบที่ดินเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

 กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ลงพื้นที่จ.กาญจนบุรี ตรวจสอบที่ดินเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า



หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งผลการดำเนินการกรณีร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการครอบครองที่ดินในเขตป่าไม้ถาวรบริเวณหมู่ที่ 8 บ้านวังจานตำบลวังด้งอำเภอเมืองกาญจนบุรีจังหวัดกาญจนบุรี และการครอบครองที่ดินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลับพระบริเวณหมู่ที่ 2 บ้านท่ามะนาว จ.กาญจนบุรี







และเพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบการพิจารณา กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรมสอบสวนคดีพิเศษ พาสื่อมวลชน ลงพื้นที่เกิดเหตุจำนวน 5 แปลง พร้อมให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกทั้งทำบันทึกการตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับคณะพนักงานสืบสวน เพื่อ ให้สื่อมวลชน ได้ทราบข้อเท็จจริงและได้ดูหลักฐานที่ใช้การประกอบพิจารณา ทั้งหมด

ทีมข่าวภาคสนาม/รายงาน












วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

วันสุดท้ายของการจัดงานมหกรรมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทย แพทย์แผนไทย ภาคใต้ คึกคักไม่แพ้ 2 วันก่อน ผู้ที่ชื่นชอบสมุนไพรเดินทางมาเที่ยวชมงานกันจำนวนมาก ขณะที่ไฮไลท์ของการจัดงานวันสุดท้ายคือ การประกวด มีส สมุนไพร บวร

 วันสุดท้ายของการจัดงานมหกรรมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทย แพทย์แผนไทย ภาคใต้ คึกคักไม่แพ้ 2 วันก่อน ผู้ที่ชื่นชอบสมุนไพรเดินทางมาเที่ยวชมงานกันจำนวนมาก ขณะที่ไฮไลท์ของการจัดงานวันสุดท้ายคือ การประกวด มีส สมุนไพร บวร



 วันสุดท้ายของการจัดงานมหกรรมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทย แพทย์แผนไทย ภาคใต้ คึกคักไม่แพ้ 2 วันก่อน ผู้ที่ชื่นชอบสมุนไพรเดินทางมาเที่ยวชมงานกันจำนวนมาก ขณะที่ไฮไลท์ของการจัดงานวันสุดท้ายคือ การประกวด มีส สมุนไพร บวร 



วันที่ 25 พ.ค. 2566 มหกรรมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทย แพทย์แผนไทย ภาคใต้ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 23-25 พ.ค.2566 ที่วัดคีรีวงก์ อ. หลังสวน จ.ชุมพร บรรยากาศวันสุดท้ายขิงการจัดงานยังคงคึกคักไม่แพ้ 2 วันที่ผ่านมา ผู้ที่ชื่นชอบสมุนไพร และ แพทย์แผนไทย จากทั่วสารทิศ เดินทางมาเที่ยวชมงานกันเนืองแน่น






    ช่วงเช้า  บรรยากาศช่วงเช้า

งานรำลึกถึงบูรพาจารย์ ไหว้ครูหมอยาประจำปี 2566

ตั้งแต่ ตี4 ไหว้ครูหมอยารับอรุณ ขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ลูกศิษย์เอาไปช่วยเหลือคนไข้







พระอาจารย์ท่านเมตตาพรมน้ำมนต์ให้ทุกคนในพิธีเพื่อเป็นศิริมงคลและโปรยข้าวตอกดอกไม้


ตามด้วยมโนราห์ชุดใหญ่ให้ครูยาอาจารย์





ถวายเพลพระ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำดื่ม พร้อมผ้าไตรจีวร


แล้วร่วมให้กำลังใจน้องๆนักเรียนประกวดเมนูอาหารสมุนไพร กินอย่างไร ปลอดภัยปลอดโรค








พร้อมฟังบรรยาย สาระการดูแลสุขภาพจากแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน​ ที่เริ่มจากการแสดงมโนราห์ ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคใต้ ก่อนที่จะให้วิทยากรที่มีความรู้เรื่องสมุนไพร สลับสับเปลี่ยนขึ้นเวทีให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในครัวเรือนที่ใช้บำบัดโรค บำรุงร่างกาย โดยแนะวิธีการนำไปใช้อย่างถูกต้อง





ขณะที่บูธสมุนไพรที่นำมาจัดแสดง ยังคงได้รับความสนใจจากผู้ที่มาเที่ยวชมงาน โดยเฉพาะบูธนวดแผนไทยบำบัดโรค และผ่อนคลายความเครียด ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก








     ยุวฑูตภูมิปัญญาหมอพร ปี 2566


ได้รับเกียรติจากหลาน และเหลนของเสด็จเตี่ย(หมอพร) เดินทางมาร่วมให้กำลังใจน้องๆ ยุวฑูตภูมิปัญญาหมอพร 


คุณชารุษา ศุภชลาศัย 

คุณเภาท์ ศุภชลาศัย 

และเจ้าของโรงแรมเอเต้ ชุมพร คุณสุรางค์ วัชรพงศ์




ด้วยบารมีเสด็จเตี่ย (หมอพร) ที่ได้ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากไว้มากมายจนเป็นที่เลื่องลือของประชาชนว่าเป็นหมอเทวดา มีเมตตารักษาคนไข้ให้พ้นทุกข์





ชุมพร เป็นสถานที่สุดท้ายของเสด็จเตี่ย(หมอพร) เราลูกหลาน ต้องร่วมกันสืบสานปณิธานภูมิปัญญาการแพทย์แผนโบราณที่เสด็จเตี่ย(หมอพร) ได้ฝากไว้กับแผ่นดิน ส่งเสริม สืบสาน ต่อยอดให้เข้าถึงเยาวชนคนรุ่นหลัง 



น้องๆยุวฑูตภูมิปัญญาหมอพร ปี 2566 

น่ารัก ฉลาด มีไหวพริบ 


ขอให้นำเอาความรู้ที่ได้ในครั้งนี้เอาไปใช้ดดูแลตัวเอง

และร่วมกันสืบสานภูมิปัญญาหมอพร ส่งต่อให้ทุกๆคนในทุกๆช่องทาง ทุกๆสังคม 


เริ่มที่ตัวเรา 






ยุทธศาตร์การรักษาที่ดีที่สุด คือ 

รักษาสุขภาพ  ไม่ใช่การรักษาโรคการประกวดครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก มีผู้เข้าประกวดทั้งหมดหลายท่าน  ทุกคนต้องตอบคำถามสรรพคุณ​ และวืธีใช้บำบัดโรคอย่างถูดต้อง ซึ่งนางสาว อรณพรรณ ณ เชียงใหม่ ชนะใจกรรมการคว้าตำแหน่ง มีส สมุนไพร บวร ไปครอง ซึ่งนางวสวอรณพรรณ กล่าวขอบคุณกรรมการ และดีใจที่ได้รับตำแหน่ง ยืนยันจะทำหน้าที่เผยแพร่สรรพคุณ​สมุนไพร ให้ดังไปทั่วโลกเร็วที่สุด


ทีมข่าว/รายงาน